เครื่องมือแพทย์ในกลุ่มนี้ เช่น
- เครื่องนวดกระแสไฟฟ้า ที่ใช้นวดเพื่อคลายความปวดเมื่อย
- ผลิตภัณฑ์แม่เหล็กสุขภาพ เพื่อใช้ในการเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตและคลายการ
ปวดเมื่อย - เครื่องวัดความดันโลหิต ชนิดดิจิตอลเพื่อใช้วัดความดันโลหิต
- ชุดผลิตภัณฑ์ตรวจสภาวะบางอย่างของร่างกาย เช่น ชุดตรวจสอบน้ำตาลในปัสสาวะ ชุดตรวจสอบการตั้งครรภ์
การใช้เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น มีประโยชน์ต่อวงการแพทย์และสาธารณสุขเป็นอันมาก แต่ขณะ
เดียวกัน ถ้านำไปใช้ไม่ถูกกับโรค ไม่ถูกกับอาการ หรือใช้โดยผิดวัตถุประสงค์ก็อาจทำให้เกิดอันตราย
ได้เช่นกัน
อันตรายจากเครื่องมือแพทย์ มีดังนี้
- เครื่องมือแพทย์ไม่มีประสิทธิภาพหรือความแม่นยำเพียงพอ อาจทำให้การวินิจฉัยผิด
พลาดได้ เช่น หากชุดผลิตภัณฑ์ในการตรวจวินิจฉัยโรคเอดส์ ไม่มีประสิทธิภาพเพียง
พอที่จะตรวจวินิจฉัยเลือดที่ได้รับบริจาคว่ามีเชื้อ เอชไอวี หรือไม่ โดยอาจตรวจไม่พบ
แต่เลือดที่ได้รับบริจาคมีเชื้ออยู่ ก็ทำให้ผู้รับ บริจาคเลือดติดเชื้อไปด้วย - เครื่องมือแพทย์ไม่ปลอดภัยในการใช้ เช่น ถุงซิลิโคนเสริมทรวงอก อาจเกิดการแตก
ขณะที่ยังอยู่ในร่างกาย ซึ่งซิลิโคนจะทำให้เกิดพังพืดขึ้นทำให้เป็นอันตรายได้ - เครื่องมือแพทย์ที่อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์ เช่น เครี่องเอ็กซเรย์ยัง
ใช้ในการวินิจฉัยโรคนั้น หากผู้ป่วยได้รับการฉายรังสีเอ็กซ์บ่อยครั้ง ก็อาจทำให้มี
โอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งได้ - เครื่องมือแพทย์บางชนิด มีสารห้ามใช้ หรือข้อควรระวังในการใช้กับผู้ป่วยที่มีภาวะบาง
อย่าง เช่น เครื่องมือทางทันตกรรม ประเภทเครื่องขูดหินปูน จะไม่ใช้กับผู้ป่วยที่มีการ
ติดตั้งเครื่องช่วยการเต้น ของหัวใจ (Pacemaker) เนื่องจากการทำงานของเครื่องขูดหิน
ปูนจะรบกวนการทำงานของเครื่องดังกล่าว

ซื้อได้ ทั่วไป และยังมีการส่งเสริมการขายโดยการโฆษณาผ่านสื่อต่าง ๆ ซึ่งการโฆษณาเครื่อง
มือแพทย์หลายชนิดมีการโฆษณาโอ้อวดเกินจริง เช่น เครื่องออกกำลังโดยการแกว่งขา เครื่อง
นวด เครื่องสั่นสะเทือน อุปกรณ์แม่เหล็กต่าง ๆ ซึ่งการโฆษณาที่เกินจริงนี้อาจทำให้ผู้บริโภค
หลงเชื่อและซื้อหามาใช้ด้วยตนเอง ทำให้อาจเกิดอันตรายได้ หากมีโรคหรือความผิดปกติของ
ร่างกายที่ไม่ควรใช้เครื่องมือแพทย์หรืออุปกรณ์นั้น ดังนั้น หากผู้บริโภคจำเป็นต้องซื้อผลิตภัณฑ์
เครื่องมือแพทย์มาใช้เอง ก็ขอให้ใช้วิจารญาณ ศึกษาหาความรู้ที่ถูกต้อง และทำความเข้าใจ
กับผลิตภัณฑ์นั้นให้ถ่องแท้ เพื่อเป็นข้อมูลช่วยพิจารณาว่าสมควรที่จะซื้อมาใช้หรือไม่ และไม่
ควรหลงเชื่อคำโฆษณาเกินจริงจากผู้ประกอบธุรกิจ เพราะเครื่องมือแพทย์บางชนิดมีราคาแพง
เกินไป หากซื้อมาใข้โดยหลงเชื่อคำกล่าวอ้างดังกล่าว นอกจากจะไม่ได้ประโยชน์แล้ว ยังเสีย
เงินโดยใช่เหตุอีกด้วย หากมีปัญหาก็ให้ปรึกษาจากผู้มีความชำนาญ หรือพบผลิตภัณฑ์เครื่อง
มือแพทย์ที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐานก็สามารถร้องเรียนมากได้ที่ สำนักงานคณะกรรมการอาหาร
และยา ได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 5907354-5 เพื่อดำเนินการต่อไป
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
เดือนมิถุนายน 2540
- ประโยชน์ในทางการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรค โดยมีการประยุกต์ใช้เครื่องมือวัสดุ
และอุปกรณ์ และนำเอารังสีเอ็กซ์มาใช้ในการวินิจฉัยและรักษาโรค การนำแสงเลเซอร์
มาใช้ในศัลยกรรมผ่าตัด สลายนิ่ว รักษาต่อมลูกหมากโต การนำเทคโนโลยีทางพันธุ
วิศวกรรมศาสตร์มาใช้เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ เพื่อการตรวจวินิจฉัยโรค เช่น ผลิตภัณฑ์
ตรวจวินิจฉัยโรคเอดส์ โดยใช้เทคนิคโพลีเมอเรส เชน รีแอคชั่น (Polymerase chain
reaction) นำคลื่นไมโครเวฟเมื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง ใช้สนามแม่เหล็กในการตรวจวินิจฉัย
เป็นต้น - ประโยชน์ต่อการดูแลรักษาสุขภาพของประชาชน นอกจากจะมีเครื่องมือแพทย์ที่ใช้ใน
สถานพยาบาลแล้ว ยังมีเครื่องมือแพทย์อีกกลุ่มหนึ่งที่ประชาชนสามารถใช้ได้ด้วยตนเอง
ซึ่งมีแนวโน้มว่าเครื่องมือแพทย์กลุ่มนี้จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งรวมทั้งเครื่องมือแพทย์ที่
ผู้ป่วยสามารถนำติดตัวไปตรวจและบำบัดโรคที่บ้านได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น